top of page

พินอินและการผสมพยัญชนะ

บทนำเกี่ยวกับภาษาจีน

              บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริงๆแล้วภาษาจีนนั้นมีแบ่งอยู่2 แบบ  ได้แก่ แบบจีน และ แบบไต้หวัน ถ้าเป็นแบบไต้หวันเขายังคงยึดแบบดั้งเดิมของจีนที่ใช้กันมาช้านาน นั้นก็คือตัวอักษรจีนแบบตัวเต็ม และใช้ระบบจู้อิน Zhuyin ( 注音) ในการสะกดคำ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ในประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบพินอิน Pinyin (拼音)ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อักษรโรมันมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสะกดคำ ซึ่งมันทำให้ง่ายต่อการเรียภาษาจีนมากขึ้น ซึ่งทำให้ระบบนี้เป็นที่แพร่หลายมากกว่าระบบจู้อิน ที่ใช้ตัวอักษรที่คิดค้นขึ้นมาเอง  และในวันนี้เราจะมาเรียนการสะกดคำง่ายๆแบบ Pinyin กันก่อนกันดีกว่านะคะ

พินอินคืออะไรกันน้า?

               ก่อนที่เราจะไปเรียนภาษาจีนกันแบบจริงๆจังๆ เหล่าซือ(แปลว่าอาจารย์ในภาษาจีน) จะอธิบายความหมายของ “พินอิน” ให้นักเรียนทุกคนฟังก่อน “Pinyin พินอิน 拼音” คือตัวช่วยให้เราอ่านออกเสียงภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งเวลานักเรียนใช้ภาษาไทยในการจดคำอ่านภาษาจีน มันอาจจะทำให้นักเรียนอ่านผิดเพี้ยนหรืออ่านได้ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ พินอินมีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าใจ และจดจำได้ง่าย และในเว็บไซต์นี้ก็จะใช้เป็น พินอิน ทั้งหมด เพื่อความง่ายและถูกต้อง
ถ้าเทียบกับภาษาไทยแล้ว พินอินก็เปรียนเสมือนสระและพยัญชนะของภาษาจีน

ทำไมเรียนภาษาจีนต้องเริ่มเรียนพินอินก่อนเป็นอันดับแรกอ่ะ?

                เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรที่พัฒนามาจากรูปภาพ และได้วิวัฒนาการจนมาเป็นอักษรเฉกเช่นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นแค่มองตัวอักษรเราจะไม่รู้ว่ามันสะกดยังไง ต้องใช้ความจำเพียงอย่างเดียว “ตายล่ะ ใครจะไปจำได้ ตัวอักษรเยอะแยะตาแปะขายไข่ขนาดนั้น” เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเรียนวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ หรือที่เรียกว่าพินอินซึ่งเปรียบเสมือน ก.ไก่ ข.ไข่ ในภาษาไทยนั่นเอง มันจะช่วยทำให้ชาวต่างชาติอย่างเราเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวก แล้วยังช่วยเราออกเสียงได้อย่างถูกต้องด้วย นอกจากนั้นใครที่รู้พินอินแล้วก็สามารถพิมพ์ภาษาจีนได้อย่าง่ายดาย

พินอินไม่ใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) !!

                หลายๆคนคงคิดว่าพินอินคือการถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ ง่ายๆไม่เห็นจำเป็นต้องเรียน ขอให้คิดใหม่ได้เลยยย จริงๆแล้วมันแค่ยืมอักษรโรมันมาแทนเสียงตัวสะกด เช่นอักษร q ในระบบพินอินเป็นเสียง “ช”  ไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย และยังมีกฏอีกมากมาย เช่นการผสมคำ และการใส่เสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างจากระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษอย่างสิ้นเชิง

องค์ประกอบของพินอิน

  1. 声母: พยัญชนะ มี 23 เสียง

  2. 韵母: สระ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยว และ สระผสม ทั้งหมด 36 เสียง
        – สระเดี่ยวมี  6  เสียง
        – สระผสมมี  30  เสียง

  3. 声调: เสียงวรรณยุกต์ มี 4 เสียง และเสียงเบา(จะเรียนในบทต่อไป)

พินอิน.jpg

ตารางพินอิน

การออกเสียง

วิธีการผสมเสียง(พยัญชนะ+สระ)

 

วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ + เสียงวรรณยุกต์(เรียนในบทต่อไป)

  1. พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว(พยัญชนะจะไฮไลท์สีชมพู) เช่น

  • P + a = Pa

   2. พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น

  • สระผสม 2 ตัว เช่น bai gei hao tou ฯลฯ

  • สระผสม 3 ตัว เช่น bang teng tong ฯลฯ

  • สระผสม 4 ตัว เช่น xiong liang lieng ฯลฯ

*ข้อควรระวัง*

แม่สะกดในภาษาจีนที่ต้องตามหลังเสียงสระ  ก็มีน้า! (อันนี้ไม่ต้องคิดมาก ใช้บ่อยๆเดี๋ยวก็เป็นเอง)

  • -n เหมือนแม่กนและกงในภาษาไทย

  • -ng  เหมือนแม่กง

  • r  มีไว้แสดงเสียงเอ้อ ต้องเอาปลายลิ้นงอขึ้นไปแตะที่เพดานปาก

  1. สระ u อู(อู) ไม่ใช้กับพยัญชนะ y, j, q, x

  2. สระ ü อวี
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ y, j, q, x จะต้องตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ออกไป เช่น ü –> yu üe –> yue
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ l, n จะละสองจุดไม่ได้ ไม่นั้นจะไปซ้ำกับเสียงu (อู) ทำให้เกิดการสับสนได้

  3. สระ er เช่น 兒 เมื่อทำหน้าที่เป็นสระต่อท้าย จะเขียนพินอินแค่ r เท่านั้น เช่น 一點兒 yīdiǎnr

bottom of page